วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

ไม่ศรัทธาพระสงฆ์ แถมแอบด่าจะบาปไหม???




เรื่องเล่าเข้าใจธรรม
ด่าพระบาปไหม ตอนที่1

 ภาพด่าพระจะบาปไหม ลิขสิทธิ์ผู้เขียน EL LAPIZ
วันนี้เรามีเรื่องที่น่าสนใจเรียกว่าเกี่ยวกับพระสงฆ์โดยตรง เราก็เห็นอยู่แล้วว่าในกระแสของ Social หรือว่าหน้าข่าวต่าง ๆ พระนี้ก็เป็นเหมือนจุดขาย ขึ้นหน้าหนึ่งขึ้นหน้าข่าวแล้วรู้สึกว่าจะได้รับความสนใจมากพอสมควรเลย

เมื่อหลวงพี่เป็นพระภิกษุ เวลาไปตามที่ชุมชนต่าง ๆ รู้สึกว่ามีคนคอยจับตามอง คอยสังเกต บ้างไหม?

เราก็ใช้ชีวิตของเราปกติ ข่าวก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้วที่พระ ซึ่งคนเขากราบไหว้ ก็คงต้องมีอะไรที่มันเหนือกว่าหรือพิเศษกว่าหน่อยที่จะทำให้เขารู้สึกอย่างนั้นได้ เราเองเราออกไปไหนก็วางตัวให้ให้ดูดีให้เหมาะสม ก็ไม่มีปัญหาอะไรคนส่วนใหญ่เข้าใจดี

คำถามจากกระทู้ ตั้งหัวข้อมาได้ชัดเจนเลยว่าไม่ศรัทธาพระสงฆ์วงเล็บแถมแอบด่าจะบาปไหม?
อันนี้อยู่ในห้องศาสนา ติดแท็กศาสนาพุทธเป็นกระทู้คำถาม เขาได้เล่าถึงตัวเขาแหละว่าผมไม่ศรัทธาในตัวพระสงฆ์ใด ๆ เลยแม้แต่เกจิ ที่ทำตัวเป็นเทวดาให้แต่สิ่งงมงายแถมเล่นตัวให้คนเข้าหากราบไหว้ยาก รวมไปถึงพระตามวัดต่าง ๆที่ไม่ได้ทำตัวให้น่าเลื่อมใสน่ากราบไหว้เลย แต่ผมศรัทธาในคำสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ามากและยึดถือนำมาใช้ในการปฏิบัติในชีวิตตั้งมั่นมีสติ ใช้ชีวิตไม่ประมาท รู้ถึงซึ่งทุกข์และแนวทางการไม่ให้มีทุกข์ คิดถึงเหตุผลต่าง ๆ จะทำอะไรหรือพูดอะไรออกไปเพราะมีเหตุสิ่งนั้นจึงเกิด

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2561

ทำไมชีวิตการบวชพระ ทำให้ชาวโลก พบความสุข และความสบาย



"การที่เรามาบวชมาเป็นพระ ไม่ใช่สบาย ถ้าเราสบายไปทำอย่างอื่นดีกว่า 
แต่การมาบวชเป็นพระ ครั้งนี้ เราควรที่จะทำประโยชน์ให้กับพระศาสนา 
คือให้พระศาสนาได้พึ่งเรา
คือการที่เรากำลังจะเอาความสว่าง ของธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ไปถึงคนที่เขากำลังลำบาก อยู่ในห้วงของความทุกข์ เหมือนกับที่เราเคยผ่านมา 

เราจึงต้องขยันมุ่งมั่นในการฝึกตัว เราจึงต้องขยันในการทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาออกไป เป็นเป้าหมายที่ว่า ทำไมวัดพระธรรมกายถึงต้องทำแบบนี้"


เรื่องเล่าเข้าใจธรรม

ตอน ทำไมท่านถึงบวชที่วัดพระธรรมกาย เพราะติดสบายรึเปล่า?
ตอนที่ 3




ที่มาของภาพ : บล็อกภาพดีๆ072,

https://photoofdays.blogspot.com/2018/03/blog-post_14.html

จากที่ได้ฟังพระอาจารย์เล่ามา ก็พอจะสรุปได้ว่า ท่านมาบวชเพื่อตัวเองในแง่ของการปฏิบัติธรรม เพื่อให้บรรลุมรรคผล นิพพาน 2 คือการทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับญาติโยม ที่ได้มาถวายภัตตาหาร บำรุงวัด ทั้งพระภิกษุสามเณรในวัด หลวงพี่คิดว่าการที่มาอยู่ตรงนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องที่สุขสบาย แต่จะดูยุ่งยากกับการที่ต้องรับมือกับญาติโยมมากมาย
 อย่างที่หลวงพี่พูดให้ฟัง ก็คือ คำว่าสบาย ต้องให้คำจำกัดความ คนที่อยู่ข้างนอกก็จะมองความสบายเป็นอีกแบบหนึ่ง พระก็มองความสบายเป็นอีกแบบหนึ่ง
       ยกตัวอย่างเช่น คนข้างนอกมองความสบายว่าคือการได้พักงาน ได้ท่องเที่ยวอะไรต่าง ๆ แต่ความสบายของพระ คือความสบายทางใจเสียมากกว่า คือได้ปลอดจากความกังวล ได้ปลดปล่อยตัวเองออกจากความวุ่นวาย และเนื่องจากพวกเรามาทำหน้าที่ตรงนี้ เราทำได้ประโยชน์ของตัวเองด้วย ได้ประโยชน์ของคนอื่น มันก็เป็นความสบายใจแบบหนึ่ง ก็คือเราเป็นหนี้บุญคุณคนอื่นเขาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง มันเป็นหน้าที่ของพระอยู่แล้ว เพราะจะช่วยให้คนมีความรู้ในธรรมะ รู้ว่าชีวิตของตัวเองควรจะดำเนินต่อไปอย่างไร

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

การบวชพระ อย่างไร ญาติโยมจึงจะได้บุญ

"ถ้าคุณเป็นพระที่ฝึกตัวก็สามารถที่ไปถึงฝั่งได้ คือไปบรรลุมรรคผลนิพพาน กับอีกส่วนหนึ่ง อย่าลืมคนที่สนับสนุน คือคนที่ใส่บาตรให้คุณ คนที่ถวายปัจจัย 4 ให้คุณ เขาก็รอคุณเป็นเนื้อนาบุญ รอฟังว่าคุณมาใช้ชื่อในความเป็นพระ แล้วคุณได้อะไรมาบ้าง ความดีงามเหล่านี้ มันทำไงถึงจะเกิดขึ้น เขาก็อยากจะฟัง พูดง่ายๆว่าเราก็มีหน้าที่สอนคนไปด้วย ด้วยหน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ มันจึงกลายเป็นภาระของพระทุกรูป ไม่ใช่เฉพาะรูปใดรูปหนึ่ง แต่พระทุกรูปต้องรู้จักหน้าที่ว่า เรามีหน้าที่ในการฝึกตัว และก็มีหน้าที่ในการสอนคนอื่น แนะนำคนอื่นไปด้วยในเวลาเดียวกัน"


เรื่องเล่าเข้าใจธรรม 

ตอน ทำไมท่านถึงบวชที่วัดพระธรรมกาย เพราะติดสบายรึเปล่า?

ตอนที่ 2


 ภาพพระเดินธรรมยาตรา ที่มาของภาพจากบล็อกภาพดีๆ072


...มีผู้สงสัยว่า พระที่มาบวชที่วัดพระธรรมกายเพราะติดสบายหรือเปล่า ?

           หลวงพี่เคยถามตัวเองในตอนที่มาบวชช่วงพรรษาแรกๆถึงสาเหตุของการมาบวช เนื่องจากว่าการมาบวชช่วงแรกเราไม่ได้เห็นความวุ่นวายอะไรต่าง ๆ ในลักษณะอย่างที่คนข้างนอกเขาเห็น การเติบโตของพระจะค่อยๆ มาเป็นลำดับ เหมือนกับเราเป็นเด็กที่ค่อยๆ เติบโต มีพ่อแม่คอยฟูมฟัก ตอนมาวัดแรกๆ เราก็ถูกฟูมฟักมาให้คุ้นเคยกับความเป็นพระ หลวงพี่ยอมรับนะว่าตอนนั้นไม่รู้ว่าวัดมีงานอะไรเยอะแยะขนาดนี้

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561

ชีวิตทางโลกน่าจะสบายกว่า ทำไมมาเลือกบวชเป็นพระ?



"พระที่วัดพระธรรมกายหลายรูปก็จบการศึกษาสูง เป็นปัญญาชน ทำไมถึงไม่อยู่ใช้ชีวิตทางโลกที่สะดวกสบาย เหมือนคนทั่วไป ทำไมถึงเลือกที่จะบวช และมาบวชวัดพระธรรมกายที่งานก็เยอะ ข่าวก็เยอะ ลองมาฟังตัวอย่างจากมุมมองของพระที่บวชวัดพระธรรมกายมาหลายพรรษาจริง ๆ ซึ่งก่อนบวชก็เป็นสัตวแพทย์ แต่ก็เลือกที่จะมาใช้ชีวิตนักบวชที่วัดพระธรรมกาย"



เรื่องเล่าเข้าใจธรรม
ตอน ทำไมท่านถึงบวชที่วัดพระธรรมกาย เพราะติดสบายรึเปล่า?
ตอนที่ 1


ที่มาของภาพ : https://photoofdays.blogspot.com/

        เมื่อนายสัตวแพทย์อนาคตไกล ตัดสินใจจะมาเป็นพระภิกษุ ด้วยอายุเพียง27ปี จนปัจจุบันเป็นพระมหาเถระที่บวชมาแล้ว22พรรษา อะไรเป็นสาเหตุให้ท่านออกบวชที่วัดพระธรรมกาย และใช้ชีวิตอยู่ในเพศสมณะโดยไม่คิดจะกลับไปอยู่ทางโลกอีก ท่ามกลางกระแสของความไม่เห็นด้วยจากคนบางกลุ่ม ที่มองว่าวัดพระธรรมกายไม่เหมือนวัดในพระพุทธศาสนาโดยทั่วไป มาค้นหาคำตอบจากพระอาจารย์จุมพล ปุญฺญพโล พระอาจารย์ผู้สอนวิชาพระไตรปิฎกศึกษาและเป็นพระอาจารย์อบรมบุคคลากรภายในวัดพระธรรมกาย

ทำไมหลวงพี่ถึงตัดสินใจมาบวชที่วัดพระธรรมกาย?

หลวงพี่อาจจะพูดในฐานะที่เป็นตัวเองนะ คงจะไม่ได้เป็นตัวแทนของพระทั้งวัด ซึ่งในแง่ของหลวงพี่เองคือความตั้งใจจริงๆเกิดจาก ความสนใจในการนั่งสมาธิ เพราะว่าตอนเรามาสิ่งที่เราจะต้องเจอทุกครั้งจากที่วัดก็คือ หลวงพ่อจะสอนเรื่องการนั่งสมาธิ



ที่มาของภาพ : https://photoofdays.blogspot.com/

พอมีพิธีกรรม อย่างเช่นที่วัดจัดทุกวันอาทิตย์ จะนั่งสมาธิทั้งในช่วงสายและบ่าย ก็ทำให้เรารู้สึกว่า การนั่งสมาธิเป็นสิ่งที่ดีกับจิตใจของเรา สมาธิหล่อหลอมจิตใจของเรามาตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั่งมาถึงจุดที่เรารู้สึกว่า เราอยากบวช ก็เลือกที่นี่ เพราะคิดว่าที่นี่เป็นที่ที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว และก็มีโอกาสนั่งสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากจะได้ พอเข้ามาแล้วก็มุ่งหวังเรื่องของการปฏิบัติธรรมหรือนั่งสมาธิเป็นหลัก เพราะว่าเราเกิดความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่หลวงปู่วัดปากน้ำท่านเข้าถึงที่เรียกว่าธรรมกายมีอยู่จริงๆ แล้วก็วิธีการก็มีอยู่ เหลืออยู่ว่าแค่เราพาตัวไปถึงจุดๆนั้น นี่คือหัวใจใหญ่

เป้าหมายหลวงพี่อยากบรรลุวิชชาธรรมกายหรือ?

คำตอบคือ ใช่ เป็นจุด(ประสงค์)ใหญ่จุดหนึ่งเลย

ที่มาของภาพ : http://www.kalyanamitra.org/th/

จุด(ประสงค์)รองจุดอื่นๆ คืออะไร?

จุดอื่นๆก็คือ การได้ชีวิตที่มีความสงบนะ คือตอนแรกเราก็ไม่ได้คิดว่ามันจะมีความสงบมากมายอะไร เพราะเราไม่เคยได้สัมผัสชีวิตความเป็นพระ แต่พอเราบวชแล้วมีโอกาสเข้ามาอยู่ตรงนี้ เราพบว่าชีวิตพระเป็นชีวิตที่เรียบง่าย สงบและก็ไม่วุ่นวาย ก็เป็นชีวิตที่ชอบ

หลวงพี่ก็พอใจกับชีวิตที่สงบๆ เรียบๆ ง่ายๆ อยู่แล้วใช่หรือไม่?

หลวงพี่คิดว่า คนที่มาอยู่ตรงนี้ ต้องมีพื้นฐานความคิดที่เหมาะกับวิถีชีวิตแบบชาววัด เพราะว่าความจริงหลายๆคนที่ใจยังมีความสนุกสนาน อยากจะไปนู่น นี่ นั่น มาอยู่ในสภาพแบบนี้ก็คงอยู่ลำบาก แต่ว่าเราเป็นคนที่ชอบในแบบนี้อยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องไปฝืนอะไรมาก

การที่หลวงพี่มองไปที่เป้าแรกคือวิชชาธรรมกาย หลวงพี่ตั้งเป้าหรือคิดว่าวิชชาธรรมกายจะช่วยอะไรหลวงพี่? หลวงพี่ถึงสนใจที่อยากมาฝึกตรงนี้

คำว่า วิชชาธรรมกาย ความจริงเป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกัน แต่ตัวหลักจริงๆก็คือ เราต้องใช้คำว่า ธรรมกาย เพราะ ธรรมกาย เป็น กายตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า อันนี้คือ หลวงปู่(วัดปากน้ำ) ท่านค้นเจอมา ส่วนว่าในสายปฏิบัติอื่นๆว่าอย่างไรเราก็ไม่ต้องไปแตะนะ เพราะว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ธรรมกายคือกายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ตรัสรู้ธรรม

ส่วนวิชชาธรรมกายก็คือการอาศัยธรรมกาย ซึ่งเป็นกายตรัสรู้ธรรมของท่าน ไปศึกษาความจริงของชีวิต ซึ่งจริงๆก็อาศัยธรรมกายนี่แหละ ไปทำให้เกิดความรู้แจ้งภายใน  ซึ่งถ้าพูดภาษาให้ง่ายที่สุด คือ จะหมดกิเลสได้ต้องอาศัยธรรมกายเพราะว่าท่านเป็นกายที่ใช้ในการเห็นกิเลส กำจัดกิเลสไปจนกระทั่งถึงเราหมดกิเลส

ที่มาของภาพ : http://www.dmc.tv

เหมือนเป็นเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์ธรรมดาๆอย่างเรา ได้เข้าสู่นิพพานใช่ไหม? ในมุมมองของหลวงพี่และศิษย์วัดพระธรรมกาย

ใช่

การอยู่วัดพระธรรมกายไม่ใช่เรื่องง่าย ตามที่เราเคยคุยกันมา ว่าวัดนี้ธรรมดาหรือไม่ธรรมดา มีข่าวเข้ามาตลอด หลวงพี่สามารถอยู่ในสภาวะนี้ได้อย่างไร หลวงพี่คิดอย่างไร กับเรื่องราวที่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องโจมตี?

มันเป็นเรื่องของความเข้าใจนะ ในความเห็นของหลวงพี่ เนื่องจากว่าไม่ใช่เพิ่งเริ่มมีคนไม่เห็นด้วยในยุคนี้ ความจริงแล้วในยุคของหลวงปู่เอง ก็ยังมีคนที่ไม่เห็นด้วย ตั้งแต่ตอนนั้นแล้วที่มีการเรียก  ธรรมกลาย เป็นการแปลงศัพท์เพื่อที่จะให้คำนี้เป็นคำที่ล้อเล่น และก็มีหลายคนที่ก็บอกว่าธรรมกายไม่ได้มีจริง บางคนก็บอกว่าเป็น สมถะ ไม่ได้เป็น วิปัสสนา  บางคนก็บอกว่าเป็นนิมิตที่เห็นขึ้นมา เห็นก็จริง แต่ว่าไม่ได้มีอะไรวิเศษพิสดาร ซึ่งส่วนใหญ่คนที่เค้าไม่เห็นด้วยก็ยังคงไม่เห็นด้วยอยู่ แต่ว่าหลวงปู่ท่านก็ทำของท่านมาเรื่อยๆ 

เราเองเรามาในยุคหลัง พอเรามาเจอภาพเดียวกัน จึงไม่ได้รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่ เรื่องนี้โดยศัพท์เทคนิคในพระพุทธศาสนา ท่านเรียกว่า ปัจจัตตัง ก็คือว่า ต้องไปรู้เห็นด้วยตัวของเราเอง ดังนั้น เราก็พิสูจน์ด้วยตัวของเราเอง หลวงพี่ไม่ได้ใส่ใจว่าคนข้างนอกจะมองเห็นว่า คำว่า ธรรมกาย เป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง มันไม่ได้เข้ามาอยู่ในใจ 


พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

       เรื่องนี้ต้องใช้การปฏิบัติด้วยตัวเราเอง ซึ่งเป็นเรื่องยากเหมือนกัน ถ้าคนไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ปฏิบัติ หรือไม่ได้มีประสบการณ์ด้วยตัวเอง และยากสำหรับคนที่เค้าทำไม่ได้ หลวงพี่เองก็ไม่ใช่ว่าทำได้นะ เราก็ทำยังไม่ได้ว่าไปถึงไหน ขออุปมาอย่างนี้ว่า

ถ้ามีคนบอกเราว่า ถ้าจะเดินทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เมื่อเดินทางก็จะผ่านจังหวัดเหล่านี้ เช่น อยุธยา สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ไปเรื่อย ลำปาง จนเชียงใหม่ แล้วเราก็ลองออกเดินทางตามที่เค้าบอก ถ้าการเดินทางครั้งแรกเราไปเจอเพชรบุรีเลย เราก็คงจะสงสัยว่ามาถูกหรือ เราก็คงจะสับสน เพราะจังหวัดแรกที่เจอก็ไม่ใช่อยุธยาแล้ว ต่อไปจะไปเจอเชียงใหม่มั้ย ถ้าเราไปต่อ แล้วเจอสุราษฎร์ เราก็คงสงสัยว่าใช่เหรอ?  แต่ถ้าเราไปแล้วเจอจังหวัดอยุธยาจริง ก็จะรู้สึกว่า อยุธยาก็มีตามที่เค้าบอกจริง เชียงใหม่ก็น่าจะมี 

วิธีการเป็นแบบเดียวกัน คือ การปฏิบัติธรรมแบบที่หลวงปู่ท่านสอน พอเริ่มปฏิบัติไปแล้ว ก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะสามารถจะทำตามอย่างที่ท่านสอนได้มากน้อยแค่ไหน แต่หลวงพี่เชื่อว่า หลายคนโดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัด เช่นเป็นพระ จะได้ประสบการณ์จากการนั่งสมาธิในบางส่วน ในระดับที่เราพอเชื่อมั่นได้ว่า ตรงนั้นน่าจะมี 

ที่มาของภาพ : http://www.kalyanamitra.org/th/

     เหมือนหลวงพี่อยู่ในขั้นตอนของการเดินทาง แล้วก็พบกับขั้นต่างๆตามที่ได้บอกไว้ในลายแทงที่หลวงพี่กำลังเดินตามอยู่ แล้วหลวงพี่ก็คิดว่า หลวงพี่ได้มาถูกเส้นทางนี้แล้ว จึงทำให้หลวงพี่ยังอยู่ในสมณเพศและอยู่ที่วัดพระธรรมกายนี้ใช่หรือไม่?

คำตอบ คือ ไม่ใช่ (ณ จุดๆนี้ ผู้ถามเริ่มงงเล็กน้อย แต่ก็อยากจะรู้ว่า อะไรคือเหตุผลที่แท้จริงกันแน่) 

การมาอยู่ที่วัดพระธรรมกายนี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องใหญ่จริง แต่ว่าการที่จะมาอยู่ในวัด คือการเอาชีวิตเข้ามาฝากในพระศาสนา คนที่มาวัดไม่จำเป็นต้องมาบวชทุกคน บางคนก็ทำมาหากิน และก็รักในการปฏิบัติธรรม เหมือนกับในสมัยพุทธกาลที่ ก็มีบางส่วนมาเป็นพระ บางส่วนมาเป็นโยม เป็นสาธุชน แต่ก็สามารถที่จะบรรลุธรรมได้เหมือนกัน 

นอกจากความรักในการปฏิบัติธรรม รักในการนั่งสมาธิ เจริญภาวนาแล้ว ยังต้องมีความคิดด้วยว่า เราอยากจะทุ่มเทให้กับเรื่องตรงนี้จริงๆ แล้วเราก็ต้องมานั่งคิดตัดสินใจว่า แล้วเราใช้ชีวิตตรงนี้มันไหวไหม  ไปใช้ชีวิตข้างนอกมันง่ายนะ แล้วเราคุ้นเคยกับชีวิตข้างนอกมา อยู่ดีๆจะมาอยู่อย่างนี้ จะอยู่ได้หรือ 
  
สำหรับบทสนทนากับพระอาจารย์จุมพลนั้น ยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ โปรดติดตามต่อได้ใน